ค่าแรงปูกระเบื้องปูพื้นและผนัง
ค่าแรงปูกระเบื้องปูพื้นและผนัง
งานปูกระเบื้องเป็นอีกหนึ่งงานช่างที่ต้องใช้ช่างที่มีฝีมือชำนาญ
และกระเบื้องแต่ละขนาดหรือแต่ละชนิดก็ต้องใช้เทคนิคการปูที่แตกต่างกันออกไปด้วย
โดยราคาค่าแรงช่างปูกระเบื้องเซรามิกจะอยู่ที่ประมาณ 200 บาทต่อตารางเมตร
ส่วนกระเบื้องเกรนิตโต้ขนาดใหญ่จะอยู่ที่ ประมาณ 500-800 บาทต่อตารางเมตร
ส่วนค่าแรงช่างในการรื้อถอนสกัดกระเบื้องเก่าทิ้ง จะอยู่ที่ 30-50 บาทต่อตารางเมตร
ไม่รวมค่าขนทิ้ง
วิธีคำนวณกระเบื้องปูพื้น
สูตรคำนวณพื้นที่ที่จะใช้ในการปูกระเบื้อง
สูตรที่เราจะใช้มีดังต่อไปนี้นะครับ และผมก็ขอยกตัวอย่างเป็นกระเบื้องที่เราจะใช้ในการปูเป็น กระเบื้องแกรนิตโต้ ขนาด 60×60 ซม.
เราจะใช้สูตรในการคำนวณหาพื้นที่ดังต่อไปนี้ครับ
สูตร : (ด้านกว้าง เมตรX ด้านยาว เมตร = พื้นที่หน่วยเป็นตารางเมตร)
ยกตัวอย่างเช่น เราจะปูพื้นกระเบื้องแกรนิตโต้ 60×60 ซม. ในห้องที่มีขนาดความกว้าง 5 เมตร และความยาว 10 เมตร
เมื่อนำสูตรมาใช้ก็จะคำนวณพื้นที่ได้คือ 50 ตารางเมตร (5มX10ม = 50ตร.ม) กระเบื้อง 1 กล่องบรรจุ 4 แผ่นจะสามารถปูได้พื้นที่ 1.44 ตารางเมตร
ดังนั้นเท่ากับเราต้องใช้กระเบื้องตามพื้นที่จริงคือ 50 ตารางเมตรหาร 1.44 เท่ากับ 34.72 กล่อง ปัดขึ้นเป็น 35 กล่อง หรือ 140แผ่น นั้นเองครับ
หมายเหตุ :แต่อย่างไรก็ตาม ควรจะซื้อเผื่อเกิดความผิดพลาดสักเล็กน้อย เผื่อแก้ไขงานอีกประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนกระเบื้องที่จะใช้งานจริง
และหากปูกระเบื้องเสร็จแล้ว ควรเก็บกระเบื้องส่วนที่เหลือ ไว้สำหรับกรณีมีการซ่อมแซมในภายหลังด้วย เพื่อให้ได้กระเบื้องที่เป็นรุ่นเเละสีที่ตรงกันนะครับ
สูตรคำนวณจำนวนแผ่นกระเบื้องที่ต้องใช้
สูตร : พื้นที่ = กว้าง x ยาว
ผมขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น ห้องกว้าง 3.1 ม. ยาว 2.4 ม. เราก็เอาเข้าสูตร กว้าง*ยาว เลยครับ เราจะคำนวณพื้นที่ได้ 3.1 x 2.4 = 7.44 ตร.ม.
กระเบื้อง 1 กล่อง ส่วนใหญ่ปูได้ 1 ตร.ม. (ปริมาณกระเบื้อง 1 กล่องที่ปูได้ ให้ดูให้แน่ใจทุกครั้ง เพราะไม่ใช่ทุกกล่องจะปูได้ 1 ตร.ม.)
สรุป พื้นที่ที่เราได้คือ 7.44 เราจะใช้กระเบื้องประมาณ 8 กล่อง นั่นเอง
ตัวอย่างที่สอง สมมุติว่าห้องผมมีขนาด 3.5 ตร.ม. มันจะเท่ากับ พื้นที่ 3.5 หาร กล่อง/ตร.ม. 1 = 3.5 หรือ 4 กล่อง
กระเบื้อง 1 กล่อง = 1.44 ตร.ม. (ขึ้นอยู่แล้วแต่ล่ะยี่ห้อด้วย) ก็จะได้ พื้นที่ 3.5 หาร 1.44 = 2.43 หรือ 3 กล่อง นั่นเอง
***ควรเผื่อปริมาณกระเบื้องไว้ประมาณ 5 – 10% จากจำนวนพื้นที่ที่คำนวนได้